โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

พลังงานน้ำ เป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย หนึ่งในนั้น คือ การผลิตไฟฟ้า ซึ่งในประเทศไทยมีการจัดตั้ง โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2507 ณ เขื่อนภูมิพล จ. ตาก เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ปล่อยมลพิษสู่ธรรมชาติ จนมีการใช้อย่างแพร่หลายตามเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละแห่งมีวิธีการที่แตกต่างกันและจะมีทั้งหมดกี่ประเภทนั้น เราจะพาไปทำความเข้าใจให้มากขึ้น  

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมีกี่ประเภท อะไรบ้าง 

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่  

1. โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบไหลผ่านตลอดปี  

การผลิตพลังงานจะเกิดขึ้นเมื่อมีกระแสน้ำไหลผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณที่กำหนด โดยไม่มีการกักเก็บน้ำสำรอง และไม่สามารถกักเก็บไว้เป็นรูปแบบพลังงานได้  

2. โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบสูบกลับ  

การผลิตพลังจะเกิดขึ้นเมื่อมีกระแสน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบไหลผ่านตลอดปี แต่มีความเหนือกว่าเรื่องขั้นตอน เนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถสูบน้ำกลับขึ้นไปยังอ่างเก็บน้ำด้านบน เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้าจากกระบวนการดังกล่าว  

3. โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากอ่างเก็บน้ำ  

การผลิตไฟฟ้าประเภทนี้จะเน้นการชลประทานเป็นหลัก และนิยมใช้การอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการออกแบบเขื่อนจะต้องมีระยะความสูงของอ่างเก็บน้ำและท้ายน้ำมากกว่าประเภทอื่น ๆ โดยจะมีกลไกการทำงาน คือ ปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากอ่างเก็บน้ำนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 

ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ 

ไฟฟ้าพลังงานน้ำ เป็นอีกหนึ่งพลังงานทดแทนที่ไม่ก่อให้เกิด ควันเสีย ก๊าซพิษ หรือเขม่า เนื่องจากหลักการทำงานที่ไม่สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบการจ่ายไฟของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเมื่อมีกระแสน้ำไหลผ่าน ที่สำคัญมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำ และสามารถใช้งานได้นานหลายปีตามประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร  

นอกจากนั้น โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ไม่ได้มีแค่ข้อดีเพียงอย่างเดียว เพราะยังมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศ ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่โดยรอบ ทั้งการเสียสมดุล รับมือกับความอันตรายของการพังทลายของเขื่อน และปัญหาพลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอเมื่อเกิดภัยแล้งอีกด้วย 

การมีพลังงานไฟฟ้าทดแทน อีกหนึ่งทางเลือกที่ใช้ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง จนก่อเกิดเป็นพลังงานที่บริสุทธิ์ไร้สารพิษและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ทำให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ใช่แค่ในประเทศไทย ซึ่งมีประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณที่กำหนด แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างผลกระทบอันใหญ่หลวง และยังคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ จะพัฒนาไปในทิศทางใดต่อไป